คดีแพ่ง

คดีแพ่ง ของประเทศไทยนั้นหลักเบื้องต้นใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ถึง 6

ดย บรรพ 1 คือหลักทั่วไป

ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

ลักษณะ 2 บุคคล => บุคคลบางลักษณะเป็นบุคคลผู้ซึ่งด้อยความสามารถ เช่นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือว่าบุคคลล้มละลาย ต่าง ๆ นั้น ต้องแยกเป็นกรณี ๆไป เช่นผู้เยาว์ โดยหลักไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาได้ แบบนี้เป็นต้น

ลักษณะ 3 ทรัพย์ => เป็นสิ่งที่สำคัญอีกวิชา 1 ที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้เพราะว่ามีเนื้อหาสาระอยู่จำนวนมาก

ลักษณะ 4 นิติกรรม => นิติกรรมเป็น

ลักษณะ 5 ระยะเวลา

ลักษณะ 6 อายุความ => อายุความ  เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและ ได้ใช้งานตลอดในการศึกษาวิชากฏหมายและการใช้งานจริง

 

บรรพ 2 หนี้ => หลักเรื่องหนี้ เป็นพื้นฐาน ที่นำไปใช้ หากว่ามีลูกหนี้หลายคนก็เป็นลูกหนี้ร่วม

ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

ลักษณะ 2 สัญญาณ

ลักษณะ 3 จัดการงานนอกสั่ง

ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้ =>

ลักษณะ 5 ละเมิด => เป็นเรื่องที่สำคัญมากเรื่อง 1 และเกิดขึ้นในสังคมเรา

 

บรรพ 3 เอกเทศสัญญา

ลักษณะ 1 ซื้อขาย

ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน

ลักษณะ 3 ให้ => สมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์นั้น

ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ =>

ลักษณะ 5 เช่าซื้อ =>

ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน =>เป็นการจ้างแรงงานเพื่อทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือรายวันหรือรายเดือน

ลักษณะ 7 จ้างทำของ => วัตถุประสงค์คือความสำเร็จของงานที่จ้าง

ลักษณะ 8 รับขน

ลักษณะ 9 ยืม

ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์

ลักษณะ 11 ค้ำประกัน => ในเรื่องค้ำประกันเราพบเห็นอยู่ เป็นจำนวนมากหลายกรณี โดยเฉพาะการค้ำประกันให้กับผู้อื่น เช่นการที่ผู้อื่นไปซื้อเช่าซื้อรถยนต์ เราต้องไปค้ำประกันให้ หรือการค้ำประกันให้ผู้อื่นไปศึกษาระดับปริญญาเอก ในต่างประเทศ เมื่อผู้นั้นจบการศึกษาระดับด็อกเตอร์กลับมาแล้ว ไม่ยอมมาใช้หนี้ทุนตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิด ดังที่เห็นเป็นข่าวกันอยู่เป็นระยะ ทางที่ดีจะแนะนำว่าถ้าหากว่าไม่จำเป็น อย่าไปค้ำประกันคนอื่น เพราะว่าผลประโยชน์เราไม่ได้อะไร เรามีแต่ความรับผิดหรือรับแต่หนี้อย่างเดียว (ใครจะว่าแล้งน้ำใจแต่บางครั้ง ถ้าเราโดนตรงนี้ไป เซเลย ขอบอก)

ลักษณะ 12 จำนอง => ใช้กับอสังหาริมทรัพย์ (การจำนองกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน แต่สำหรับการขายฝากกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อฝากทันที ณวันที่จดทะเบียนขายฝาก ณ สำนักงานเขตที่ดิน ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่)

ลักษณะ 13 จำนำ => ใช้กับสังหาริมทรัพย์ (สมบูรณ์โดยการส่งมอบทรัพย์ เพราะว่าเป็นของที่เคลื่อนย้ายได้ ดังนั้นต้องมีการส่งมอบ)

ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า

ลักษณะ 15 ตัวแทน => หลักการตัวแทนนำมาใช้เยอะ โลกนี้กว้างใหญ่ไพศาลเราไม่สามารถทำกิจการงานใด ๆ ใด ๆ ได้ด้วยตัวเองจึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนเข้ามาช่วยดำเนินการแทนท่าน

ลักษณะ 16 นายหน้า

ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ

ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ

ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด

ลักษณะ 20 ประกันภัย

ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน

ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท =>ห้างหุ้นส่วนสามัญ , ห้างหุ้นส่วนจำกัด , บริษัทจำกัด , บริษัทมหาชน ต่าง ๆ เหล่านี้มีเงื่อนไขต่าง ๆ ทางกฎหมายเราจะต้องทำความเข้าใจ

ลักษณะ 23 สมาคม

 

บรรพ 4 ทรัพย์สิน

ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

ลักษณะ 2 กรรมสิทธิ์

ลักษณะ 3 ครอบครอง

ลักษณะ 4 ภาระจำยอม

ลักษณะ 5 อาศัย

ลักษณะ 6 สิทธิเหนือพื้นดิน

ลักษณะ 7 สิทธิเก็บกิน

ลักษณะ 8 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

 

บรรพ 5 ครอบครัว

ลักษณะ 1 การสมรส => เป็นการสมรสทางกฎหมายคือที่การจดทะเบียนการสมรส การสมรสทางประเพณี แต่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสไม่ถือว่าเป็นการสมรสทางกฎหมาย ตามหลักบุคคลที่จะสมรสได้ต้องบรรลุนิติภาวะ แต่ก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน เดี๋ยวจะอธิบายฟัง

ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร

ลักษณะ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู

 

บรรพ 6 มรดก

ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก

ลักษณะ 3 พินัยกรรม

ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก

ลักษณะ 5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ

ลักษณะ 6 อายุความ =>

โดยคดีแพ่งโดยหลักต้องใช้ตามประมวลกฎหมาย 1 ถึง 6ดังละเอียดเบื้องต้นนี้ เพื่อทำการวินิจฉัยพิพากษาปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าจะเห็นว่า บทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีแพ่งนี่เป็นจำนวนมากและคดีแพ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่ของมนุษย์เราเพราะว่าเป็นคดีที่เป็นเรื่องระหว่างมนุษย์ 2 คนที่ตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้ หรือเป็นการมีข้อพิพาทระหว่างกันนั่นเอง

http://หลักทรัพย์ประกันตัว.com/บทความ/คดีแพ่ง.html

 

One thought on “คดีแพ่ง”

  1. เท่าที่อ่านดูแล้วคดีแพ่งน่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับการทำมาหากินหรือเกี่ยวกับเรื่องเงินทอง ใช่ไหม แล้วคดีแพ่งแบบนี้โดยทั่วไปสามารถที่จะเจรจากับคู่กรณี และยอมความกันได้หรือเปล่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีปัญหาในชั้นศาล และประหยัดค่าใช้จ่าย คู่กรณีเขาจะยอม ได้ไหม มีผลทางกฎหมายทั้งกับเราและเขาอย่างไร ใจไม่ค่อยอยากไปประกันเพราะว่ามันเสียเงิน หรือถ้าสู้กันในชั้นศาลต้องจ้างทนายก็มีแต่ค่าใช้จ่าย อยากจะคุยกันให้มันจบ ผ่อนใช้ความเสียหายกันไป แต่กลัวตัวเองจะเสียเปรียบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *