#ทำไมมี หลักทรัพย์ประกันตัว ผู้ต้องหา
เมื่อท่านมีความผิดทางคดีความหรือถูกแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายท่านต้องใช้บริการบริษัท รับประกันตัว ผู้ต้องหา หรือ เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ผู้ต้องหา กรุงเทพ ร้อยละเท่าไหร่ ได้คืนไหม
ข้อหาอาญาที่ เช่าหลักทรัพย์
ความผิด | ข้อหา |
---|---|
1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ | ตัวอย่างข้อหาที่ เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ได้แก่ ความผิดฐานกระทำอนาจาร , ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา , หญิงต่อชาย หรือหญิงต่อหญิงได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุเอาไว้) , ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ (กฎหมายใหม่ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเพียงชายต่อหญิงเท่านั้น แต่เป็นชายต่อชาย |
2. ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร | ตัวอย่างข้อหาที่ใช้หลักทรัพย์ประกัน ได้แก่ ความผิดฐานทำลายเอกสารพินัยกรรมของผู้อื่น เป็นต้น (เอกสารทางราชการ มีความผิดมากกว่าเอกสารทางของเอกชน) , ความผิดฐานปลอมเอกสาร |
3. ความผิดเกี่ยวชีวิตร่างกาย | ตัวอย่างข้อหาที่ประกันได้แก่ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย(เป็นความผิดต่อร่างกาย) , ความผิดฐานฆ่าคนอื่น(เป็นความผิดต่อชีวิต) , ความผิดฐานกระทำโดยประมาทมีผู้ถึงแก่ความตาย |
4. ความผิดอาญาฐานอื่น | ที่ประกัน เช่น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 , คดียักยอกทรัพย์ , ความผิดฐานฉ้อโกง , ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน , คดีลักทรัพย์ , คดีลักทรัพย์นายจ้าง ก็ต้องใช้หลักทรัพย์ มาประกันด้วย |
5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ | ก็มีสิทธิ์ประกันได้ เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี ยาเค |
6. ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน | ตัวอย่างข้อหาที่ใช้เช่าหลักทรัพย์ประกัน ได้แก่ ความผิดฐานซ่องโจร , ความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง |
7. ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม | ตัวอย่างข้อหาที่ รับจ้าง ประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ความผิดฐานแจ้งความเท็จทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย , ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม |
8. ความผิดเกี่ยวกับก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน | ตัวอย่างข้อหาที่รับประกันตัว ได้แก่ ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น(การวางวางเพลิงเผาทรัพย์ มีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรง) , ความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท |
ต่างๆหล่านี้ เมื่อผู้ต้องหาถูกแจ้งข้อหาจากนั้นก็ต้องใช้ เช่าหลักทรัพย์ประกัน เพื่อทำการประกัน(หรือเรียกว่าการขอปล่อยตัวชั่วคราว) โดยกำหนดวงเงินหลักทรัพย์ที่ต้องใช้ในแต่ละคดีแตกต่างกันออกไป เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น กำหนดราคาราคาเช่าหลักทรัพย์ประกัน 400,000 บาท , แต่ถ้าเป็นในขั้นพยายามกระทำความผิด ราคาค่าเช่าหลักทรัพย์ ประมาณ 200,000 บาท เป็นต้น บางครั้งอาจถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาร่วมกันก็ได้แล้วแต่ความผิด นั่นจะต้องใช้หลักประกันมูลค่ามากขึ้น ทีนี้เมื่อเจ้าหน้าที่กำหนดราคา สมมุติว่าหลักทรัพย์ประกันตัว 400,000 บาท แต่เมื่อทางผู้ต้องหานั้น มีเงินสดหรือหลักทรัพย์มูลค่าไม่เพียงพอจำต้องเกิดการบริการให้ประกัน โดยสามารถติดต่อได้ที่ นายประกัน ซึ่งมีอาชีพทางด้านประกันโดยตรงเพื่อบริการผู้ต้องหา
ประกันตัวผู้ต้องหา ในตอนไหนบ้าง?
การดำเนินการประกันตัวนั้นมีการดำเนินการได้สองช่วงคือ
- ประกันตัวในชั้นพนักงาน สอบสวน
- ประกันในชั้นศาล
โดยที่จะประกันตัว ในชั้นใดนั้น ต้องแล้วแต่ระเบียบราชการของศาลกำหนดไว้ เช่น คดียาเสพติดต้องดำเนินการ รับประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นศาลเท่านั้น ไม่สามารถกระทำในชั้นพนักงานสอบสวนได้เลย แต่ในบางคดี เช่น คดีเช็ค สามารถ เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ผู้ต้องหาได้ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน และประกันชั้นศาล ทั้งนี้ต้องดูว่าดำเนินการในชั้นไหน อย่างไหนจะเหมาะสมกว่ากัน เป็นผลดีต่อผู้ต้องหามากกว่า
ประกันตัว ชั้นพนักงานสอบสวน
เป็นการประกันตัวตั้งแต่ท่านถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมมา จนกระทั่งถึงขั้นตอนที่ตำรวจส่งสำนวนไปยังอัยการ เพื่อเตรียมส่งฟ้องศาลต่อไป (เป็นชั้นสอบสวน)
การประกันในชั้นศาลเป็นการดำเนินการในขั้นตอนเมื่อศาลรับประทับฟ้องจากอัยการ(ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำสำนวนมาส่งที่อัยการก่อน) เพื่อให้อัยการพิจาณาว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ส่งฟ้องศาลต่อไป (เป็นชั้นศาล)
ประกัน ในชั้นศาล
การประกันชั้นศาลแบ่งออกเป็น
1.ศาลชั้นต้น
2.ศาลอุธรณ์ และ
3.ศาลฏีกา
1. ศาลชั้นต้น
ทุกขั้นตอนท่านสามารถเช่าหลักทรัพย์เพื่อทำการประกันออกมาได้ ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของศาล เช่น การนัดสืบพยานโจทก์ การนัดสืบพยานจำเลย(ผู้ต้องหา) การนัดพร้อม จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตัดสินในคดีความผิดนั้น ๆ เมื่อศาลตัดสินคดีให้กับจำเลย(ผู้ต้องหา)แล้วการประกันนี้เป็นอันสิ้นสุดลง
2.ประกันชั้นศาลอุธรณ์ และ 3.ชั้นศาลฎีกา
ถ้าท่านไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ท่านต้องทำการดำเนินการเพื่อทำการหา เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว เพื่อออกมาสู้คดีในศาลขั้นถัดไปคือศาลอุธรณ์ ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการคดีความของศาลจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับว่าจำเลยรับสารภาพหรือปฏิเสธ ถ้ารับสารภาพศาลท่านจะพิพากษาติดสินคดีเลย(ป.วิอาญามาตรา176 ดูเพิ่มเติมบางคดีต้องสืบพยานต่อไป) แต่หากปฏิเสธจะต้องมีกระบวนการสืบพยานโจทก์และจำเลย (เมื่อศาลรับฟ้องแล้วเราไม่เรียกว่า”ผู้ต้องหา”แล้ว ) ดังที่กล่าวมาอันมีผลให้ระยะเวลาในคดีเนิ่นนานออกไป ซึ่งมีผลต่อหลักทรัพย์และการประกันตัว
เรื่องประกันตัว กับคำให้การจำเลย?
สำหรับตัวผู้ต้องหาเองนั้นจะรับหรือปฏิเสธในข้อหานั้น ต้องปรึกษาทนายความก่อน เพราะแต่ละคดีรูปการณ์ไม่เหมือนกัน แต่ไม่มีผลต่อหลักทรัพย์ที่มาประกัน การที่เรารับข้อกล่าวหาหรือยอมรับว่ากระทำความผิด นั้นมีผลดีคือเมื่อศาลท่านตัดสินมักจะลดหย่อนผ่อนโทษใครเพราะถือว่าเราสำนึกผิดและรับสารภาพ แต่หากเราปฎิเสธข้อกล่าวหาหรือไม่ยอมรับว่าตนเองนั้นได้กระทำความผิด เมื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุดแล้ว หากพิสูจน์ได้ว่าเรานั้นกระทำความผิดจริง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ศาลท่านตัดสินเต็มอัตราโทษ และไม่มีเหตุลดโทษกึ่งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อได้กระทำความผิดจริงจริงและมีหลักฐานความผิดชัดเจน ขอแนะนำว่าปฏิเสธไปเปล่าประโยชน์ สู้ยอมรับสารภาพไปเสียดีกว่า
และหากครั้งต่อไปท่านกระทำความผิดอีก(ไม่ว่าข้อหาอาญาใดก็ตาม) เพราะการกระทำผิดซ้ำซาก ย่อมไม่เป็นผลดีกับตนเองแต่ประการใด มันมีผลเรื่องหลักทรัพย์หรือการประกันจำเลยในครั้งหน้านั้นด้วย
อัตราหลักทรัพย์ประกันตัว ได้คืนไหม คิดร้อยละเท่าไหร่
อัตรา เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ผู้ต้องหาในคดีต่างๆในแต่ละข้อหา เพื่อให้มีความชัดเจนกรุณาสอบถามที่ศาล ที่ท่านต้องไปดำเนินคดี แต่ละศาลอาจใช้หลักทรัพย์ประกัน มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง สอบถามให้ชัดเจนว่าใช้หลักทรัพย์ประกันเท่าไหร่เพราะว่าท่านนั้นจะต้องมาคิดว่าจะหาหลักทรัพย์จากไหนอย่างไร (หากท่านนำหลักทรัพย์ของตนเองมา) ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอยู่บ้าง คงไม่ได้รวดเร็วดังใจ
หากท่านต้องการหาผู้ที่นำหลักทรัพย์ประกันตัว มาทำการประกัน ให้ท่าน เขาก็ต้องมีเวลาในการดำเนินการ รับประกันตัวผู้ต้องหา เช่นกัน จากนั้นคำถามจากผู้ให้บริการว่าคิดค่าเช่าอัตราร้อยละเท่าไหร่
บริษัท รับจ้าง ประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย รับจ้างประกันผู้ต้องหาเชิญติดต่อสอบถาม เราคิดค่าเช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ร้อยละเท่าไหร่
ก่อนประกันตัว ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เช่าหลักทรัพย์ดีไหม เช็คดีๆ
เตรียมเอกสารให้ครบทุกอย่าง สำคัญมากๆ