คดีลักทรัพย์ นายจ้าง ประกันตัวได้ไหม

จะบอกว่าวงเงิน  คดีลักทรัพย์ ประกันตัวได้ไหม เรามาดูคำตอบกัน

ตาม ป.อาญา 334 ข้อหาลักทรัพย์ ใช้หลักทรัพย์ 150,000 บาท ขึ้นไป

ตาม ป.อาญา 335 ข้อหาลักทรัพย์แต่เป็นเหตุฉกรรจ์ ใช้ 200,000 บาท ขึ้นไป

แต่สำหรับค่าประกันตัวลักทรัพย์ ให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ถ้าเป็นการประกันตัวในชั้นศาล ก็ให้สอบถามที่ช่อง 1 ประชาสัมพันธ์ของศาลที่เราจะไปประกันตัว อัตราที่ให้ไว้เป็นแค่อัตราเบื้องต้น

=>ไลน์@ สอบถามประกันตัว: @653fbxgv

ประมวลกฎหมายอาญา คดีลักทรัพย์ เป็นคดีอาญา

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

อธิบาย องค์ประกอบความผิด 334 ลักทรัพย์

องค์ประกอบภายนอก

– ผู้ใด คือผู้ที่มีสภาพความเป็นบุคคล

– เอาไป [แยกทรัพย์พยายาม => เอาไปความผิดสำเร็จ]คือ 1.แย่งการครอบครอง 2.พาทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไป [ถ้าทรัพย์ยังไม่เคลื่อนที่ เป็นแค่พยายามลักทรัพย์] 3.เอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์[เอาไปแล้วเอาไปเลย ไม่ใช่ว่าเอาไปแล้วจะเอามาคืนอย่างนี้ไม่เข้าลักทรัพย์]

– ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

องค์ประกอบภายใน

เจตนาพิเศษ ไปโดยทุจริต [มาตรา 1(1)โดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น]

เหตุฉกรรจ์กรณีลักทรัพย์

มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ (เหตุฉกรรจ์กรณีลักทรัพย์)
(1) ในเวลากลางคืน =>นับแต่เวลาพระอาทิตย์ตกดิน จนถึงพระอาทิตย์ขึ้น ดูจากดวงอาทิตย์มิใช่ดูจากแสงอาทิตย์

(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ => เป็นการซ้ำเติมต่อผู้ประสบภัย เน้นสถานที่สาธารณะ

(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ =>การทำลายสิ่งกีดกัน หรือผ่านเข้าไปในทางที่เค้าไม่ได้ให้ผ่าน เพื่อทำการลักทรัพย์

(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ => เช่นทางหน้าต่าง ช่องลม ช่องฝา ลูกกรง [ไม่จำเป็นต้องเข้าไปทั้งตัว เช่น เอาไม้สอย ก็ผิดสำเร็จแล้ว]

(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ =>

(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน =>

(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป =>แค่มีอาวุธ ถึงไม่ใช้อาวุธก็เป็นความผิด [1.อาวุธโดยสภาพ เช่น ปืน ดาบ มีด หอก 2.สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกาย เช่น คัตเตอร์]

(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการ[ดู function การทำงาน]หรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ => ม.4 เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือนโรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ได้ +++ เข้าไปทั้งตัว+++

(9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ => ม.1(3)สาธารณะสถาน หมายความว่า สถานที่ใดใด ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ไม่จำกัดว่าเป็นของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง

(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ [ทรัพย์ที่ใช้เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป เป็นของราชการหรือเอกชนก็ได้]

(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง [อาจจะเป็นหรือไม่เป็นของนายจ้างก็ได้ แต่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง]

(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
ว.2 ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ว.3 ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ว.4 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการจัดทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้ (ไม่ใช่ยกเว้นโทษ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทั้งนี้การกระทำความผิดในข้อหาลักทรัพย์ นั้นต้องมีเจตนาโดยทุจริต หากหยิบร่มของเพื่อนไปโดยเข้าใจผิดว่าเป็นของตนโดยไม่ได้มีเจตนาโดยทุจริตอย่างนี้ไม่เป็นความผิดลักทรัพย์  หรือว่าหยิบรองเท้าของเพื่อนไป แต่ไม่ได้เพื่อเอานำไปใช้ประโยชน์ แต่นำไปโยนทิ้ง อย่างนี้จะเป็นความผิดลักทรัพย์หรือไม่ อาจจะผิดแค่ทำให้เสียทรัพย์ (ป.อาญา มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเพราะว่าเราไม่ได้นำทรัพย์นั้นไปใช้ประโยชน์ จึงไม่ผิดลักทรัพย์

การที่ท่านผ่อนรถกับบริษัทไฟแนนซ์แล้วถูกไฟแนนซ์ฟ้อง เมื่อ ขึ้นศาลเรื่องรถแล้วไม่มีรถคืน อันนี้ไม่ใช่ข้อหาลักทรัพย์

ความจริงแล้วมีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับข้อหาลักทรัพย์ อีกได้แก่ ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานชิงทรัพย์ และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ดังจะพูดในรายละเอียดครั้งต่อไป เพราะว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันในการวิเคราะห์ฐานการกระทำความผิดซึ่งจะต้องเริ่มต้นที่ข้อหาลักทรัพย์ก่อน แต่ละข้อหา ประกันตัวแตกต่างกัน ปรึกษาว่าต้อง ประกันตัวเท่าไร ได้ไหมแต่เนิ่นๆ

เรื่องข้อหา ลักทรัพย์ประกันตัวได้ไหม และเท่าไหร่ และความรู้ข้อกฎหมายเบื้องต้นก็มีแต่เพียงนี้

คดีลักทรัพย์ ยอมความได้ไหม

เนื่องจากคดีลักทรัพย์เป็นอาญาแผ่นดินอันไม่อาจยอมความได้ ดังนั้นแม้ว่า ผู้ต้องหาคืนทรัพย์ให้ผู้เสียหายเรียบร้อย การดำเนินคดีก็ต้องดำเนินการต่อไป

คดีลักทรัพย์ เจ้าทุกข์ยอมความ ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร เนื่องจากเป็นอาญาแผ่นดินดังที่กล่าวมาแล้ว

ลักทรัพย์ นายจ้าง คือ

การลักทรัพย์นายจ้าง เป็นเหตุฉกรรจ์ ประมวลอาญามาตรา 335 (11) ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่าปกติ นั่นก็คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท เมื่อเทียบกับการลักทรัพย์ธรรมดา 334 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

 

http://หลักทรัพย์ประกันตัว.com/บทความ/คดีลักทรัพย์.html

credit :

เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว

2 thoughts on “คดีลักทรัพย์ นายจ้าง ประกันตัวได้ไหม”

  1. ประสบการณ์จากการอยู่อาศัยในพื้นที่เขตอุตสาหกรรม พื้นที่แบบนี้ มีคดีเกี่ยวกับลักทรัพย์หรือลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้นมาก คนที่ปลูกบ้านหรือมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ลักษณะนี้ อาจจะต้องมีการป้องกันที่แน่นหนา เลี้ยงหมาหรือเลี้ยงสุนัขก็ได้ หลายตัวหน่อยนะ อย่าตัวเดียวเดี๋ยวเอาไม่อยู่ แต่ก็เห่าเสียงดัง น่ารำคาญเหมือนกัน แต่ก็ทนเอา ดีกว่าให้โจรขึ้นบ้านอย่างนั้นอันตราย จึงมาฝากความเห็นเอาไว้ ใครอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้จะได้ปรับตัว ให้เหมาะสมกับสิ่งที่เป็นอยู่

  2. ถ้าเราเข้าไปในบ้านเรือนของคนอื่นแล้วไปลักทรัพย์หลังพระอาทิตย์ตกดิน ลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นการลักทรัพย์ในยามวิกาลแล้วหรือไม่ และถ้าตอนที่เราเข้าไปเรามีเพื่อนไปด้วยอีก 2 คน ลักษณะแบบนี้รูปคดีจะเปลี่ยนไปไหมการลงโทษตามกฎหมายทางกฎหมายอาญาจะหนักกว่าเดิมหรือไม่ เพราะมันก็ลักทรัพย์เหมือนกันเพียงแค่มีคนไปเพิ่มอีก 2 คนเท่านั้นเองและก็ไปตอนหลังพระอาทิตย์ตกดินดังที่กล่าวมาแล้ว ก็มียานพาหนะด้วยเพราะว่าต้องใช้ในการเดินทางเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ เขาจะตัดสินอย่างไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *